ทำความรู้จัก วิธีการชาร์จรถไฟฟ้า AC กับ DC ต่างกันอย่างไร?
ในปัจจุบัน การชาร์จรถไฟฟ้า แต่ละแบบนั้น ต่างก็ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการใช้งานรถยนต์ EV หรือรถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle) ที่มีปริมาณที่เพิ่มขึ้นในสังคมยุคใหม่ โดยการเลือกใช้หัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละแบบ ก็จะมีข้อดีและจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป เพราะฉะนั้น เราจะพาคุณมาทำความรู้จักกับการชาร์จรถไฟฟ้าให้มากขึ้นว่ามีกี่แบบ และแต่ละแบบต่างกันมากน้อยแค่ไหน?
เลือกอ่านได้เลย
การชาร์จรถไฟฟ้ามีกี่แบบ แล้วแตกต่างกันมากแค่ไหน?
สำหรับการชาร์จรถไฟฟ้าในปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ การชาร์จแบบธรรมดา (Normal Charge) หรือที่เราเรียกกันง่าย ๆ ว่า AC Charger และอีกแบบก็คือ การชาร์จแบบเร็ว (Quick / Fast Charge) หรือจะเรียกว่า DC Charger ก็ได้เช่นกัน ซึ่งทั้งสองชนิดนี้มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะการใช้กระแสไฟฟ้าในวงจร ที่ส่งผลต่อระบบการชาร์จไฟของสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงระยะเวลาในการชาร์จด้วย
ความแตกต่างของ การชาร์จรถไฟฟ้า AC กับ DC
การชาร์จรถไฟฟ้าแบบธรรมดา หรือ AC Charger
สำหรับการชาร์จรถไฟฟ้าแบบธรรมดา (Normal Charge / AC Charger) เป็นวิธีการชาร์จด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ โดยเป็นไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลของกระแสสลับกันไปมาตลอดเวลา ไม่มีขั้วบวกหรือลบ โดยระบบจะรับไฟฟ้าจากตัว Wallbox เข้าสู่ On Board Charger ในตัวรถ แล้วแปลงระบบไฟฟ้าเป็น กระแสตรง หรือ DC เข้าสู่แบตเตอรี่รถยนต์ ซึ่งโดยใช้เฉลี่ยใช้เวลาชาร์จประมาณ 4 – 16 ชั่วโมง
โดยปัจจุบันจะนิยมใช้ หัวชาร์จรถไฟฟ้า Type 2 เป็นหลัก แต่หากเป็นหัวชาร์จรถไฟฟ้า Type 1 จะเป็นช่วงแรก ๆ ในไทยเท่านั้น โดยหัวชาร์จ Type 1 จะใช้สำหรับรถยนต์ EV ของฝั่งอเมริกาและญี่ปุ่น โดยมีหัวต่อแบบ 5 Pin และเป็นการชาร์จไฟ 1 เฟส รองรับกระแสไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 7.2 kWh ในขณะที่ชาร์จรถไฟฟ้า Type 2 จะนิยมใช้กับรถยนต์ EV ของฝั่งยุโรปมากกว่า ด้วยการใช้หัวต่อแบบ 7 Pin ที่สามารถจ่ายไฟได้สูงสุด 11 – 22 kWh ในกรณีที่ใช้รูปแบบการชาร์จไฟ 3 เฟส
ข้อดีของการชาร์จแบบ AC Charger
- เครื่องชาร์จ AC มีราคาไม่สูง
- เหมาะสำหรับติดตั้งที่บ้าน ที่พัก ที่อยู่อาศัย
- สามารถชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าข้ามคืนได้ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องแบตเสื่อม
- ใช้งานง่ายมาก แค่เสียบปลั๊กเข้ากับรถยนต์ก็สามารถชาร์จไฟได้เลย
ข้อจำกัดของการชาร์จแบบ AC Charger
- ต้องใช้เวลาชาร์จที่ค่อนข้างนาน หากเทียบกับการชาร์จแบบ DC Charger
- ไม่เหมาะสำหรับการชาร์จในช่วงเวลาที่เร่งรีบ
- กำลังชาร์จเฉลี่ยอยู่ที่ 3 – 22 kW เท่านั้น
- หากต้องการติดตั้งสถานีชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน ต้องใช้มิเตอร์ที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 30(100)A
- ควรเดินสายไฟฟ้าจากเบรกเกอร์ที่เตรียมไว้สำหรับเครื่องชาร์จโดยเฉพาะ
การชาร์จรถไฟฟ้าแบบเร็ว หรือ การชาร์จแบบ DC Charger
วิธีการชาร์จรถไฟฟ้าแบบ DC เป็นการชาร์จที่ถูกพัฒนามาจากแบบ AC Charger โดยรูปแบบของการชาร์จแบบ DC Charger เป็นวิธีการชาร์จด้วยไฟฟ้ากระแสตรง ที่สามารถนำกระแสไฟฟ้าเข้าสู่แบตเตอรี่ได้เลย โดยไม่ต้องผ่านตัวกลางอย่าง On Board Charger เหมือนกับการชาร์จด้วย การชาร์จรถไฟฟ้า AC นั่นหมายความว่า สามารถชาร์จไฟได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งในปัจจุบันก็มีขนาดของเครื่องชาร์จที่หลากหลาย ทำให้เลือกใช้งานได้หลายรูปแบบ
ข้อดีของการชาร์จแบบ DC Charger
- เป็นการชาร์จที่ใช้กำลังไฟสูง ทำให้ชาร์จไฟได้อย่างรวดเร็ว เฉลี่ยเพียง 30 นาที – 2 ชั่วโมง
- ใช้เวลาการชาร์จที่สั้น เหมาะสำหรับช่วงเวลาที่เร่งรีบ เช่น การแวะพักชาร์จรถ
- สามารถชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์จาก 10% ถึง 80% ได้ในเวลาเพียง 30 นาที
- เป็นหัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่เหมาะสำหรับผู้ที่เดินทางไกล
ข้อจำกัดของการชาร์จแบบ DC Charger
- เครื่องชาร์จรถไฟฟ้าที่มีราคาค่อนข้างสูง หากเทียบกับแบบ AC Charger
- ในปัจจุบันมีราคาค่าบริการไฟฟ้าอยู่ที่ 7.5 บาท (On Peak) รวม VAT + Ft
- สถานีชาร์จในปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมมากพอ อาจต้องใช้เวลาในการขยายสถานีชาร์จรถไฟฟ้า
- ตัวแบตเตอรี่รถยนต์อาจเสื่อมสภาพไว หากชาร์จด้วยหัวชาร์จรถไฟฟ้าแบบ DC บ่อยเกินไป
“การชาร์จรถไฟฟ้า AC เป็นการชาร์จไฟฟ้ากระแสสลับเข้าสู่ On Board Charger เพื่อแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสตรง จึงทำให้มีกระบวนการที่นานกว่า ต่างจากหัวชาร์จรถไฟฟ้า DC ที่สามารถชาร์จไฟเข้าสู่แบตได้โดยตรง จึงทำให้ใช้เวลาที่น้อยกว่านั่นเอง”
มั่นใจได้มากกว่า ด้วยบริการติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ากับ Evolt
แน่นอนว่า วิธีการชาร์จรถไฟฟ้าแต่ละชนิด ไม่ว่าจะเป็นแบบ AC Charger หรือ DC Charger สิ่งที่สำคัญมาก ๆ คือ การเลือกบริการติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ที่มีมาตรฐานและมีความปลอดภัย โดยเฉพาะระบบการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า และการดึงไฟฟ้าในวงจรเข้ามาใช้งาน ที่ต้องมีการคำนวณและประเมินก่อนการติดตั้งจริง
เพราะฉะนั้น หากคุณต้องการติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เพียงเลือกใช้บริการกับทาง Evolt ก็สามารถมั่นใจได้มากกว่าแน่นอน เพราะเรามีทีมงานที่มากด้วยประสบการณ์คอยให้บริการ พร้อมการให้บริการแบบ One Stop Service ที่จะช่วยวิเคราะห์การติดตั้งได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการเลือกเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่ตอบโจทย์ต่อพื้นที่นั้น ๆ และการบริการหลังการติดตั้งอย่างครบวงจร
นอกจากนี้ เรายังกล้าการันตีคุณภาพด้านการให้บริการ และการติดตั้งสถานีชาร์จรถไฟฟ้าแบบครบวงจร ด้วยมาตรฐานจาก ERC, MEA และ PEA ที่จะทำให้การติดตั้งสถานีชาร์จทั้งในพื้นที่การให้บริการของคุณ หรือแม้แต่การติดตั้งสถานีชาร์จในที่พักอาศัยให้กลายเป็นเรื่องง่าย เพื่อรองรับการชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน รวมถึงการให้คำแนะนำอย่างตรงไปตรงมา เพื่อมอบความคุ้มค่าและสิทธิประโยชน์ที่ดีที่สุดให้กับผู้ใช้บริการทุกคน