BLOGBLOG
back

ระหว่าง มิเตอร์ TOU vs Solar Cell อยากประหยัดไฟเลือกแบบไหนดี?

หนึ่งในคำถามที่ถูกถามมากที่สุดในกลุ่มคนใช้รถยนต์ไฟฟ้า และเชื่อว่าบางคนอาจจะยังไม่ได้คำตอบ ก็คงจะหนีไม่พ้นข้อสงสัยที่ว่า หากต้องการเซฟค่าไฟที่บ้านในการชาร์จไฟรถ BEV / PHEV ระหว่างการเลือกใช้ มิเตอร์ TOU กับการติดตั้ง Solar Cell นั้น แบบไหนที่ใช้แล้วคุ้มค่า ประหยัดไฟได้มากที่สุด แล้วทั้งสองแบบแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน ควรเลือกอะไรดีระหว่างการเปลี่ยนมาใช้มิเตอร์ TOU หรือว่าควรเลือกติดตั้งโซล่าเซลล์แทน ซึ่งทาง Evolt Technology จะพาคุณมาไขทุกคำตอบ พร้อมคำแนะนำการติดตั้งสำหรับคนใช้รถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ

เปรียบเทียบความแตกต่าง ระหว่าง มิเตอร์ TOU และ Solar Cell สำหรับคนใช้รถ EV

ทำความรู้จัก มิเตอร์ TOU คืออะไร?

มิเตอร์ TOU (Time Of Use Tariff) คือ มิเตอร์ไฟฟ้าแบบดิจิทัลที่จะคิดเงินค่าไฟตามช่วงเวลาของการใช้งาน มีการแยกเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าอย่างชัดเจน โดยการคิดอัตราค่าไฟฟ้าจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลาหลัก ๆ คือ On Peak และ Off Peak ซึ่งการใช้มิเตอร์ไฟฟ้าแบบ TOU นี้ จะเหมาะสำหรับการใช้งานที่เน้นช่วงกลางคืนเป็นหลัก อยู่บ้านในเวลากลางวันค่อนข้างน้อย หรือหากเป็นกิจการก็ต้องเป็นธุรกิจที่ใช้ไฟเป็นจำนวนมากในเวลากลางคืน เพราะจะทำให้ค่าไฟถูกลงได้ เนื่องจากมีต้นทุนที่ต่ำลงนั่นเอง

การคิดอัตราค่าไฟของมิเตอร์ TOU

  • ช่วงเวลา On Peak หรือ Peak คือ ช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง โดยเวลาก็คือช่วง 09.00 – 22.00 น. ของวันจันทร์ – วันศุกร์ และวันพืชมงคล ซึ่งอัตราค่าไฟจะอยู่ที่ 5.79 บาท/หน่วย
  • ช่วงเวลา Off Peak คือ ช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าต่ำ โดยจะอยู่ที่เวลา 22.00 – 09.00 น. ของวันจันทร์ – วันศุกร์ และวันพืชมงคล และเวลา 00.00 – 24.00 น. ของวันเสาร์ – อาทิตย์ วันแรงงานแห่งชาติ และวันพืชมงคลที่ตรงกับเสาร์ – อาทิตย์ รวมถึงวันหยุดราชการตามปกติ ซึ่งอัตราค่าไฟจะอยู่ที่ 2.63 บาท/หน่วย
  • กรณีที่เป็นการใช้ไฟในช่วงระยะเวลาระหว่างช่วง On Peak และ Off Peak จะเรียกกันว่า Mid Peak ซึ่งอัตราค่าไฟจะคิดระหว่างทั้งสองค่า ซึ่งส่วนมากจะเป็นค่าระดับกลาง จึงทำให้ไม่ค่อยเป็นที่พูดถึงนักเมื่อกล่าวถึงการเปลี่ยนมาใช้มิเตอร์ TOU

“สิ่งที่ทำให้ช่วงเวลา Off Peak มีอัตราค่าไฟฟ้าที่ถูกกว่าเวลา On Peak เนื่องจากโรงไฟฟ้าสามารถเลือกใช้เชื้อเพลิงที่มีราคาต่ำกว่ามาผลิตไฟฟ้าได้ ทำให้มีต้นทุนต่ำกว่าช่วง On Peak หรือ Peak นั่นเอง”

การติดตั้ง Solar Cell และประเภทของโซล่าเซลล์

Solar Cell คืออะไร แล้วมีกี่แบบ?

Solar Cell (โซล่าเซลล์) คือ พลังงานทางเลือกในรูปแบบหนึ่ง ที่นำเอาพลังงานแสงอาทิตย์มาแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยโซล่าเซลล์เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Photovoltaic Cell เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำ สามารถแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบ มาแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (DC Current) ซึ่งสามารถนำเอาไปใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ที่เราได้ต่อเข้ากับระบบ Solar Cell ได้นั่นเอง ซึ่งหากลำดับการทำงานของระบบโซล่าเซลล์นั้น สามารถอธิบายได้ง่าย ๆ คือ

  1. แผงโซล่าเซลล์รับแสงแดดไปเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า
  2. ปรับแรงดันไฟฟ้าด้วยเครื่องควบคุมประจุ เพื่อควบคุมแรงดันไฟฟ้าให้คงที่ ทำให้ได้ไฟฟ้ากระแสตรง
  3. ทำการเก็บสำรองพลังงานไฟฟ้าไว้ในแบตเตอรี่ (กรณีใช้แบบ Off Grid)
  4. ระบบทำการแปลงไฟฟ้ากระแสตรง หรือ DC ให้กลายเป็นกระแสสลับ AC ซึ่งตัวแปลงจะเรียกว่า Inverter ซึ่งสามารถนำไฟฟ้าที่ได้ไปใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านนั่นเอง

ประเภทของระบบโซล่าเซลล์ (Solar Cell System)

  • Solar Cell On-Grid เป็นระบบการติดตั้งที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA)​ หรือการไฟฟ้านครหลวง (MEA) เป็นระบบที่ค่อนข้างได้รับความนิยม เพราะค่าใช้จ่ายต่ำ ไม่จำเป็นต้องใช้แบตเตอรี่สำหรับการสำรองไฟฟ้า แต่ข้อเสียของระบบนี้คือ การใช้งานค่อนข้างจำกัด หากวันไหนที่ผลิตไฟได้ไม่เต็มที่ ก็ต้องดึงไฟฟ้าจากการไฟฟ้ามาจ่ายไฟแทน
  • Solar Cell Off-Grid มีความคล้ายกับแบบ On Grid แต่ว่าไม่ต้องเชื่อมต่อกับ Grid ของการไฟฟ้า เพราะมีการติดตั้งแบตเตอรี่เพื่อสำรองพลังงาน ข้อดีคือไม่ต้องรับไฟฟ้าจาก PEA หรือ MEA แต่ข้อเสียที่เห็นได้ชัดคือ มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ทั้งเรื่องของแบตเตอรี่ ค่าบำรุงรักษา ตลอดจนการออกแบบระบบให้เหมาะสมกับที่อยู่อาศัยและครอบคลุมการใช้งาน
  • Hybrid เป็นประเภทที่นำเอาระบบ Solar Cell On-Grid กับ Off-Grid มาใช้ร่วมกัน โดยจะเอาแค่ข้อดีมาประยุกต์ให้เหมาะสม เพื่อให้สามารถใช้ไฟฟ้าได้ทุกช่วงเวลา เช่น หากไฟฟ้าในช่วงกลางวันไม่พอก็สามารถดึงไฟฟ้ามาใช้ได้ ส่วนเวลากลางคืนก็ใช้ไฟจากแบตเตอรี่และรับไฟฟ้าจาก MEA หรือ PEA มาช่วยจ่ายไฟไปพร้อม ๆ กัน เรียกว่าเป็นระบบที่เสถียรที่สุด แต่เงินที่ใช้ก็อาจจะสูงตามเช่นกัน
การติดตั้ง Solar Cell สำหรับการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า หรือรถ EV

สูตรเด็ดลดค่าไฟ เมื่อใช้มิเตอร์ TOU ควบคู่กับ Solar Cell

สำหรับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่ต้องการติดตั้ง Home Charger ที่บ้าน เพื่อใช้ชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่รถยนต์ ก็คงอยากรู้ว่าระหว่างการเปลี่ยนมาใช้ มิเตอร์ TOU กับการเปลี่ยนมาติดตั้ง Solar Cell นั้น แบบไหนจะคุ้มค่ามากที่สุดนั้น ก่อนอื่นจะต้องมาดูก่อนว่า คุณเหมาะสมกับการเปลี่ยนไปใช้ระบบไหน เพราะจริง ๆ แล้วมีสิ่งที่ต้องพิจารณาร่วมกัน 2 ประเด็น คือ ช่วงเวลาในการใช้ไฟฟ้า และงบประมาณที่มี
ทั้งนี้ วิธีที่ถูกแนะนำมากที่สุด ที่จะช่วยให้ประหยัดค่าไฟได้จริง และงบประมาณไม่บานปลายก็คือ การเปลี่ยนมาใช้มิเตอร์ TOU ควบคู่กับการติดตั้ง Solar Cell On-Grid เช่น กลางวันที่มีการใช้ไฟจำนวนมาก ๆ ก็สามารถใช้ไฟฟ้าจาก Solar Cell ได้ และกลางคืนก็ไปใช้ไฟฟ้าจากมิเตอร์ TOU จากการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแทน โดยวิธีนี้จะตอบโจทย์บ้านที่มีสมาชิกในบ้านหลายคน ไม่ได้ใช้ไฟฟ้าแค่ตอนกลางคืนเป็นหลัก

เพราะหากเป็นบ้านหรือที่อยูอาศัยที่มีสมาชิกไม่กี่คน ส่วนมากจะใช้ไฟในเวลากลางคืน (สัดส่วน 80 : 20) จะเหมาะสำหรับการเปลี่ยนมาใช้มิเตอร์ TOU มากกว่า โดยที่ไม่ต้องติดโซล่าเซลล์เพิ่มเติม เพราะสุดท้ายแล้วยังสามารถใช้ไฟได้ในช่วงเวลา Off Peak ที่มีค่าไฟฟ้าถูกมาก ๆ ได้ ที่สำคัญคือ ใช้เวลาในการดำเนินการไม่นาน ค่าติดตั้งค่อนข้างถูก เช่น มิเตอร์ TOU ของการไฟฟ้านครหลวง มีราคาค่าเปลี่ยนมิเตอร์อยู่ที่ 700 บาท และค่ามิเตอร์อีก 6,000 บาท (ที่มา: การไฟฟ้านครหลวง)

ติดตั้ง Home Charger ด้วยมาตรฐาน PEA และ MEA

ติดตั้ง Home Charger กับ Plug Haus ด้วยมาตรฐานจาก PEA และ MEA

สำหรับผู้ใช้งาน รถยนต์ไฟฟ้า EV ที่ต้องการติดตั้ง Home Charger ที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว และมีมาตรฐานการติดตั้งจาก PEA และ MEA สามารถติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านได้ง่าย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนมาใช้มิเตอร์ TOU หรือใช้โซล่าเซลล์ เพียงเลือกติดตั้งกับ Plug Haus Thailand วันนี้ ก็รับสิทธิพิเศษมากมาย พร้อมคำแนะนำการใช้งานที่ถูกต้องให้เหมาะสมกับระบบไฟฟ้าภายในบ้าน ที่จะช่วยให้การใช้งานรถยนต์ไฟฟ้ากลายเป็นเรื่องง่าย ที่สำคัญคือ มีหลากหลายรุ่นให้เลือกใช้ โดยเฉพาะ Wallbox ที่มีดีไซน์ทันสมัย ขนาดกะทัดรัด พร้อมรับประกันเครื่องชาร์จนานสูงสุด 3 ปี และการติดตั้งอีก 1 ปี เฉพาะที่ Plug Haus เท่านั้น