BLOGBLOG
back

รู้ก่อนคุ้มกว่า ติดตั้ง EV Charger ชาร์จรถไฟฟ้า ใช้มิเตอร์แบบไหน?

มิเตอร์ไฟฟ้า กับการติดตั้ง EV Charger ชาร์จรถไฟฟ้าภายในบ้าน

ด้วยกระแสของรถยนต์ไฟฟ้าที่มาแรงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีผู้ใช้รถยนต์ EV เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดเช่นเดียวกัน และเพื่อความสะดวกสบายในการใช้รถยนต์ไฟฟ้า จึงทำให้ผู้ใช้รถเลือกติดตั้ง EV Charger ไว้ที่บ้าน เพราะฉะนั้น ทาง Evolt Technology จะมาแนะนำคนรักรถยนต์ไฟฟ้า ว่าหากต้องการติดตั้งสถานีชาร์จที่บ้านจะต้องรู้อะไรบ้าง โดยเฉพาะการเลือกขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า ที่มีผลต่อการติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าโดยตรง รวมถึงการใช้พลังงานไฟฟ้าในบ้านด้วย นอกจากนี้ ยังมีมาตรฐานของ PEA ที่ต้องให้ความสำคัญ ตลอดจนการคิดค่าไฟของมิเตอร์ TOU ที่จะมีช่วยให้ผู้ใช้รถไฟฟ้าเสียค่าไฟได้น้อยลงเช่นกัน

ติดตั้ง EV Charger สำหรับรถไฟฟ้า ใช้มิเตอร์แบบไหน?

เลือกมิเตอร์อย่างไร ก่อนติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า EV Charger

ผู้ใช้รถยนต์ EV ที่ต้องการติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า หรือ EV Charger ที่บ้าน สิ่งที่สำคัญเป็นอันดับแรก ๆ คือ การเลือกใช้มิเตอร์ที่สามารถรองรับการติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าได้ และมีความเหมาะสมกับตัวรถยนต์ที่ใช้ เพราะรถแต่ละรุ่นสามารถรองรับไฟได้ไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้น ก่อนติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า จะต้องพิจารณาทั้งตัวสเปกรถยนต์ มิเตอร์ไฟฟ้าที่บ้าน รวมถึงการเลือกจุดติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าภายในบ้าน เพื่อให้การใช้งานมีประสิทธิภาพ และไม่ส่งผลเสียต่อวงจรไฟฟ้าในครัวเรือน

กำลังไฟของ Onboard Charger

หากยึดตามรถยนต์ไฟฟ้าที่จำหน่ายในบ้านเรา สามารถแบ่งตามตัว Onboard Charger ของรถยนต์ EV ที่สามารถรองรับกำลังไฟได้ทั้งหมด 3 รูปแบบหลัก ๆ คือ

  • กำลังไฟ 6kW อาทิ MG ZS, Ora Good Cat และ BYD ATTO 3
  • กำลังไฟ 11kW อาทิ Volvo XC40, BMW iX3, Tesla Model 3 และ Y
  • กำลังไฟ 22kW ซึ่งถือว่าสูงสุดในตอนนี้ นั่นก็คือ Porsche Taycan

ติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า ใช้มิเตอร์แบบไหน

หลังจากที่เรารู้แล้วว่ารถยนต์ที่ใช้รองรับกำลังไฟได้เท่าไหร่บ้าง ก็จะทำให้รู้ว่าควรจะติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าแบบไหน เพื่อให้เหมาะสมต่อการใช้งานมากที่สุด ซึ่งถ้าหากรถยนต์รองรับกำลังไฟอยู่ที่ 6kW ก็เท่ากับว่าใช้มิเตอร์ไฟ 1-Phase 30(100) ก็ถือว่าเพียงพอ เพราะต่อให้ติดตั้ง Wall Charger ที่มากกว่านี้ แต่สุดท้ายรถยนต์ EV ก็สามารถรองรับกำลังไฟได้ตามสเปกเท่านั้น แต่หากเป็นรถไฟฟ้าที่สามารถรองรับกระแสได้ถึง 11kW นั่นหมายความว่า ผู้ใช้รถที่ต้องการติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า จะต้องเปลี่ยนไปใช้มิเตอร์ไฟ 3-Phase 30(100) แทน เพื่อให้การชาร์จไฟมีประสิทธิภาพตามสเปกของรถไฟฟ้านั่นเอง

รถไฟฟ้า มิเตอร์

ติดตั้ง EV Charger ต้องขอมิเตอร์เพิ่มหรือไม่?

ก่อนจะเลือกมิเตอร์ไฟฟ้า ที่สามารถรองรับการติดตั้ง EV Charger ได้นั้น สิ่งที่ควรสังเกตเป็นอันดับแรก ๆ คือ “Phase” หรือ “Type” ที่จะบอกได้ว่ากำลังการจ่ายไฟสามารถจ่ายได้เท่าไหร่ ซึ่งขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าที่ทางการไฟฟ้าฯแนะนำก็คือ Single-Phase 30(100)A หรือ 3-Phase 15(45)A ก็ถือว่าเพียงพอ โดยขึ้นอยู่กับขนาดและจำนวน EV Charger ที่ติดตั้งด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้น ให้ลองดูก่อนว่ามิเตอร์ไฟที่ใช้อยู่ปัจจุบันมีขนาดเท่าไหร่ หากเป็นบ้านทั่วไปที่สร้างมานานแล้วที่ใช้มิเตอร์ Single-Phase 5(15)A หรือ Single-Phase 15(45)A ก็ถือว่ากำลังไฟไม่เพียงพอต่อการใช้รถไฟฟ้า ดังนั้น หากต้องการติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ก็ต้องทำการแจ้งขอเปลี่ยนขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าก่อน  

การขอเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้า PEA และ MEA สำหรับติดตั้ง EV Charger

การขอเปลี่ยนขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) และ การไฟฟ้านครหลวง (MEA) จะใช้หลักการเหมือน ๆ กันคือ การเตรียมเอกสารเพื่อประกอบการยื่นขอมิเตอร์ใหม่

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้านที่ต้องการขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า
  • เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้า (หากไม่ใช่เจ้าของบ้านต้องมีหนังสือยินยอม)
  • บิลค่าไฟฟ้า (ประมาณ 3 – 4 เดือนย้อนหลัง)
  • ข้อมูลหรือสเปกของรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้
  • ใบมอบอำนาจหรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบ กรณีที่เจ้าบ้านไม่ได้ดำเนินการด้วยตัวเอง
การเลือกมิเตอร์ไฟฟ้า สำหรับติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

สาระน่ารู้! มิเตอร์ไฟ TOU สำหรับชาร์จรถไฟฟ้า

นอกเหนือจากมิเตอร์ไฟฟ้าทั่ว ๆ ไปแล้ว อีกหนึ่งมิเตอร์ที่ได้รับความนิยมก็คือ มิเตอร์ TOU (Time of Use) สำหรับชาร์จรถไฟฟ้า โดยมิเตอร์ชนิดนี้จะมีวิธีการคิดค่าไฟ 2 แบบ คือ On Peak และ Off Peak ซึ่งค่าไฟของแต่ละแบบจะมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยการชาร์จในช่วง On Peak จะเป็นการชาร์จรถไฟฟ้าในช่วงเวลาที่มีความต้องการสูง นั่นก็คือช่วงเวลา 09.00 – 22.00 น. ของวันจันทร์ – ศุกร์ โดยอัตราค่าไฟจะอยู่ที่ หน่วยละ 5.7982 บาท ในขณะที่ช่วงเวลา Off Peak จะมีช่วงเวลา 22.00 – 09.00 ของวันจันทร์ – ศุกร์ และ 00.00 – 24.00 น. ของวันเสาร์ – อาทิตย์ โดยค่าไฟฟ้าจะอยู่ที่หน่วยละ 2.6369 บาท

ซึ่งการใช้มิเตอร์ TOU มีข้อดีที่เห็นได้ชัดคือ หากชาร์จไฟในเวลา Off Peak จะทำให้ประหยัดค่าไฟจากอัตราปกติถึง 40% ซึ่งถือว่าเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าภายในบ้าน เพื่อชาร์จไฟในเวลากลางคืนแล้วใช้งานรถในเวลากลางวัน  ดังนั้น หากใครมีแพลนที่อยากจะติดตั้งเครื่องชาร์จไฟฟ้า ทาง Evolt แนะนำว่า ให้เลือกใช้มิเตอร์ TOU ควบคู่ไปเลยดีกว่า เพื่อให้ประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น และที่สำคัญคือ เครื่องชาร์จไฟบางรุ่นสามารถเสียบเครื่องชาร์จไว้แล้วมาตั้งเวลาให้เริ่มชาร์จในเวลา Off Peak ได้  

มิเตอร์ไฟฟ้า สำหรับ EV Charger

อย่างไรก็ตาม ก่อนจะเริ่มติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า อย่าลืมศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกเหนือจากมิเตอร์ไฟที่เหมาะสมด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ค่าซ่อมบำรุงรักษา การเลือกใช้บริการบริษัทที่มีมาตรฐานการติดตั้ง EV Charger PEA และ MEA เช่นเดียวกับการให้บริการติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Evolt ที่นอกจากจะมีมาตรฐานการติดตั้งของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้านครหลวงแล้ว ยังมีการรับรองมาตรฐานคุณภาพการให้บริการการประกอบกิจการไฟฟ้า หรือ ERC ​เช่นเดียวกัน เพื่อทำให้ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้ามีความมั่นใจมากขึ้น พร้อมด้วยการดูแลแบบ One Stop Service รองรับทั้งการติดตั้งจุดชาร์จรถไฟฟ้าในครัวเรือน และในพื้นที่ธุรกิจขององค์กรต่าง ๆ อย่างครบวงจร

Latest Post